ในปัจจุบันยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าการที่จะให้รถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนไปได้ จำเป็นต้องมีแบตเตอร์รี่เพื่อเป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ซึ่งในปัจจุบัน แบตเตอร์รี่ที่จะนำมาใช้เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้ถูกวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีขนาดที่เล็กลงและสามารถให้พลังงานได้มากขึ้น ทำให้แบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery)ได้ถูกเลือกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักให้แก่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เนื่องจากมีน้ำหนักเบา มีอายุการใช้งานสูง ให้พลังงานได้มากและชาร์จได้เร็ว และที่สำคัญแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery) เป็นเซลล์แห้ง ทำให้ไม่ก่อนให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ ทำให้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเป็นตลาดแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery) ที่มีมูลค่าสูงถึง 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2030
“
ทำความรู้จักกับแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery)
ทำไมถึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery)
ทำไมถึงต้องเป็นแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery)
“
ทำความรู้จักกับแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery)
ในช่วงแรกได้ใช้ Titanium Disulphide เป็นวัสดุในการผลิตขั้วแคโทด(ขั้วบวก) ของแบตเตอรี่ลิเทียม ส่วนขั้วแอโนด(ขั้วลบ) ผลิตจาก Metallic Lithium ซึ่งสามารถปล่อยอิเล็กตรอนได้มาก แต่เกิดการระเบิดได้ง่าย ทำให้ไม่มีความปลอดภัยต่อมนุษย์ อีกทั้งยังจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เพียง 2 V เท่านั้น
ต่อมา John Goodenough ได้ตั้งสมมติฐานว่า “หากเปลี่ยนมาใช้ Metal Oxide แทน Metal Sulphide แบตเตอรี่ลิเทียมจะมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้น” ทำให้มีการทดลองใช้ Cobalt Oxide ร่วมกับชั้นลิเทียมไอออนบางๆ ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า
หลังจากนั้น Akira Yoshino ได้ใช้แคโทด(ขั้วบวก) ของ Goodenough เป็นพื้นฐานในการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนออกสู่ตลาด และเปลี่ยนมาใช้ Petroleum Coke วัสดุที่มีคุณสมบัติคล้าย Cobalt Oxide แทนที่ลิเทียมในขั้วแอโนด(ขั้วลบ) ได้เป็นแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่มีน้ำหนักเบา ชาร์จได้มากกว่าร้อยครั้ง และเป็นต้นแบบของแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery) ที่ถูกใช้งานถึงปัจจุบัน
ทำไมถึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery)
- บริษัทชั้นนำของรถยนต์หลายๆ บริษัทกลับหันมาให้ความสนใจกับนวัตกรรมนี้มากขึ้น
- การสร้างสถานีชาร์จขึ้นอีกนับร้อยแห่งทั่วประเทศ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สถานีชาร์จบางแห่งมีการเปิดใช้งานไปแล้ว
- การสนับสนุนจากทางภาครัฐที่เตรียมออกมาตรการสนับสนุนทางภาษีแก่ผู้ประกอบการและผู้ที่นำรถยนต์เก่าเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า และอีกหลายๆภาคส่วนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน
ทำไมถึงต้องเป็นแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery)
- แบตเตอร์รี่ที่มีขนาดเล็ก
- ความจุสูง
- อายุการใช้งานยืนยาว
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สรุปก็คือ ในอนาคตอันใกล้นี้การใช้รถยนต์ที่มีพลังงานไฟฟ้าคงเป็นเรื่องที่ไม่ไกลเกินเอื้อมเท่าไหร่นัก เพราะแบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออน (Lithium-Ion Battery) เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานให้แก่ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า เช่นเดียวกับปัจจุบัน ที่เรามียานพาหนะที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง เราก็ต้องรู้ว่าเราควรจะเลือกน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไหนเติมให้แก่ยานพาหนะของเรา
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
- efinancethai.com
- nissan.co.th
- mreport.co.th