AIC Tech School > Electronics > อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์
ทรานซิสเตอร์ (Transistor)
ทรานซิสเตอร์คืออะไร
ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้งานแทนหลอดสุญญากาศซึ่งมีค่าสูญเสียต่ำและประสิทธิภาพสูงกว่ามาก ทรานซิสเตอร์สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายอย่าง เช่น ใช้ขยายสัญญาณ (Amplifier) ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ชิง (Switching) กำเนิดสัญญาณใช้รักษาแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ เป็นต้น
หน้าที่หลักของทรานซิสเตอร์ คือ “ขยายกระแสไฟฟ้า” โดยการควบคุมกระแสไฟฟ้าอินพุตส่วนน้อยบริเวณขาเบส(Base : B) แล้วทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเอาต์พุตส่วนใหญ่บริเวณขาคอลเล็กเตอร์(Collector : C)นั่นเอง
ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำชนิด 2 รอยต่อ (Bipolar Junction Transistor ; BJT) มีขาใช้งานจำนวน 3 ขา คือ
-
ขาเบส (Base ; B)
-
ขาอิมิตเตอร์ (Emitter ; E)
-
ขาคอลเล็กเตอร์ (Collector ; C)
แบ่งตามโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำมี 2 ชนิด คือ
1. ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP
2. ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN
ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP ให้สังเกตสัญลักษณ์ลูกศรที่ (ขา E จะชี้เข้า)
สัญลักษณ์
วงจรเทียบเท่าเปรียบเสมือนมีไดโอด 2 ตัวชนกันที่ขาแคโทด
โครงสร้างทรานซิสเตอร์ชนิด PNP
ทรานซิสเตอร์ NPN ให้สังเกตสัญลักษณ์ลูกศรที่ (ขา E จะชี้ออก)
สัญลักษณ์
วงจรเทียบเท่าเปรียบเสมือนมีไดโอด 2 ตัวชนกันที่ขาแอโนด
โครงสร้างทรานซิสเตอร์ชนิด NPN
การให้ไบแอสกับทรานซิสเตอร์
การไบแอสหรือการจัดแรงดันไฟฟ้าให้เหมาะสม เพื่อให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน ต้องป้อนแรงดันไฟฟ้า 2 ชุด คือ ชุดแรกจ่ายไบแอสตรงให้กับขาเบส(B)กับขาอิมิตเตอร์(E) และชุดที่สองจ่ายไบแอสกลับที่ขาคอลเล็กเตอร์(C)เทียบกับขาอิมิตเตอร์(E) โดยที่แรงดันไฟฟ้าไบแอสกลับนี้มีค่าหลายโวลต์ หรือสูงกว่าแรงดันไฟฟ้าที่ขาเบส(B)เมื่อเทียบกับขาอิมิตเตอร์(E)
การให้ไบแอสทรานซิสเตอร์ชนิด PNP
เป็นการให้ไบแอสแก่ทรานซิสเตอร์ชนิด PNP เมื่อปรับค่าแรงดันไฟฟ้า VEE ต่ำกว่าค่าแรงดันไฟฟ้าคัต – อิน (ต่ำกว่า 0.7 โวลต์ สำหรับสารกึ่งตัวนำชนิดซิลิกอน) จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านรอยต่อระหว่างขาเบส(ฺB) กับอิมิตเตอร์(E) ถึงแม้ว่ารอยต่อนี้จะได้รับแรงดันไฟฟ้าไบแอสกลับก็ตาม ส่วนรอยต่อระหว่างขาเบส(ฺB)กับคอลเล็กเตอร์(ฺC) ซึ่งได้รับไบแอสกลับนั้นจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เหมือนกับไดโอดที่ได้รับไบแอสกลับ
เมื่อปรับแรงดันไฟฟ้า VEE ให้สูงกว่า 0.7 โวลต์ จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านรอยต่อระหว่างขาเบสกับอิมิตเตอร์ เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเบส (IB) ไหลผ่านออกจากขั้วบวกของแบตเตอรี่ ผ่านรอยต่ออิมิตเตอร์กับเบส ออกทางขาเบสไปยังขั้วลบของแบตเตอรี่ ดังนั้น แรงดันไฟฟ้าไบแอสกลับที่ตกคร่อมระหว่างขาอิมิตเตอร์กับคอลเล็กเตอร์ จึงมีแรงเพียงพอที่จะผลักให้โฮลและอิเล็กตรอนให้ข้ามรอยต่อไปได้ จึงเกิดกระแสไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งไหลผ่านตามค่าแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้ระหว่างขาเบสกับขาคอลเล็กเตอร์ เรียกกระแสไฟฟ้านี้ว่า กระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ (IC) และผลรวมของกระแสไฟฟ้าเบส (IB) กับกระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ (IC) จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขาอิมิตเตอร์ (IE) นั่นคือ IE= IB +IC
การให้ไบแอสกับทรานซิสเตอร์ชนิด PNP
การให้ไบแอสทรานซิสเตอร์ชนิด NPN
การจ่ายไบแอสให้กับทรานซิสเตอร์ชนิด NPN จะใช้หลักการเดียวกับการให้ไบแอสทรานซิสเตอร์ชนิด PNP คือ จ่ายไบแอสตรงให้กับขาเบส และขาอิมิตเตอร์ ส่วนขาคอลเล็กเตอร์กับขาเบสจะจ่ายแรงดันไฟฟ้าไบแอสกลับ เมื่อค่าแรงดันไฟฟ้า VEE มากกว่าค่าแรงดันไฟฟ้าคัต – อิน จะมีกำลังมากพอ ที่จะผลักโฮลที่อยู่ในเบสให้ไหลผ่านรอยต่อระหว่างขาเบสกับขาอิมิตเตอร์เข้าไปยังอิมิเตอร์ (ขั้วลบ VEE)จากนั้นจะถูกศักย์ไฟฟ้าลบจากขั้วลบของ VEE ดึงดูดให้วิ่งไปยัง VEE และจากปรากฏการณ์นี้จึงเกิดกระแสไฟฟ้าเบส (IB) ทำให้ศักย์ไฟฟ้าบวกค่าสูงของ VCC มีกำลังสูงพอที่จะผลักโฮลในเบสให้ผ่านรอยต่อเข้าไปในอิมิตเตอร์ และถูกศักย์ไฟฟ้าลบจากแบตเตอรี่ VCC ดึงดูดให้วิ่งออกจากขาอิมิตเตอร์ผ่าน VEE เข้ามายังขั้วลบของ VCC
เมื่อโฮลในเบสถูกผลักออกไปเข้าอิมิตเตอร์จะทำให้เบสขาดโฮล จึงแสดงอำนาจของประจุไฟฟ้าลบดึงดูดประจุไฟฟ้าบวกจาก VCC ให้เคลื่อนที่ออกจากขั้วบวกของ VCC ผ่านมาทางขาคอลเล็กเตอร์ผ่านรอยต่อระหว่างคอลเล็กเตอร์กับเบส เพื่อมาแทนที่โฮลในเบสที่ขาดไป แต่ก็ถูกผลักต่อให้เลยเบสไปที่อิมิตเตอร์และถูกศักย์ไฟฟ้าลบจาก VCC ดึงดูดให้เข้ามายังขั้วลบ จึงเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ (IC) ซึ่งมีทิศทางตรงข้ามกับทรานซิสเตอร์ชนิด PNP
การให้ไบแอสกับทรานซิสเตอร์ชนิด NPN
สภาวะการทำงานของทรานซิสเตอร์
สภาวะการทำงานของทรานซิสเตอร์ สามารถแบ่งตามสภาวะการทำงานได้ 3 สภาวะ คือ
- สภาวะไม่นำกระแสไฟฟ้า (Cut Off) คือ สภาวะที่ไม่จ่ายแรงดันไฟฟ้าไบแอสตรงให้กับขาเบส และขาอิมิตเตอร์ (VBE) กระแสไฟฟ้าเบสจึงหยุดไหล จึงทำให้กระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์หยุดไหลด้วยเรียกอีกอย่างว่า ย่านคัตออฟ
- สภาวะนำกระแสไฟฟ้า (Conduction) คือ สภาวะที่กระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์สามารถที่จะไหลได้ จึงทำให้กระแสไฟฟ้าเบสควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ได้ เรียกอีกอย่างว่า ย่านทำงาน
- สภาวะอิ่มตัว (Saturation) คือ สภาวะที่กระแสไฟฟ้าคอลเล็กเตอร์ไม่เปลี่ยนแปลงสูงขึ้น หรือมีค่าคงที่ แม้ว่ากระแสไฟฟ้าเบสจะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นถึงจุด ๆ หนึ่งก็ตาม เราเรียกอีกอย่างว่า ย่านอิ่มตัว
แสดงสภาวะการทำงานของทรานซิสเตอร์ NPN (วงจรอิมิตเตอร์ร่วม)
วัดทรานซิสเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
1. ปรับสวิตช์ของมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านวัดไดโอด ( Diode Test )
2. ค้นหาตำแหน่งของขาของทรานซิสเตอร์ที่จะวัด ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2N3904 มีตำเหน่งขาเรียง E B C ตามรูป
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
1) วัดขา B กับขา E วัดได้แรงดันตกคร่อม 0.649V
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
2) วัดขา B กับขา C วัดได้แรงดันตกคร่อม 0.628V
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
3) สลับสายวัดขา B กับขา E แสดงค่า OL
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
4) สลับสายวัด B กับขา C แสดงค่า OL
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
3. พิจารณาผลการวัดขา B กับขา E และวัดขา B กับขา C ใช้หลักการเดียวกัน ถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่าที่มัลติมิเตอร์ 0.6-0.7V 1 ครั้ง และแสดงค่า OL 1 ครั้ง ถ้าทรานซิสเตอร์ที่เสียในลักษณะ(ขาด)จะวัดค่าขึ้น OL ทุกครั้ง และ ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะ(ซ๊อต)จะวัดแล้วขึ้น 000V ทุกครั้ง
4. วัดขา E และขา C และสสับสายวัดอีกครั้งถ้าทรานซิสเตอร์ดีจะแสดงค่า OL ทุกครั้ง ทรานซิสเตอร์ที่เสียลักษณะซ๊อตจะวัดแล้วขึ้น 000V ทุกครั้ง
5. ทรานซิสเตอร์ที่ดี ผลการวัดขา B กับขา C วัดขา B กับขา E และวัดขา C กับขา E ผลที่ได้ในการวัดต้องดีหมด
การหาขาทรานซิสเตอร์ ด้วยมัลติมิเตอร์ดิจิตอล
ในการสุ่มวัดถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ NPN สายวัดสีแดงจะเป็นขา B
- การวัดที่ได้ค่าแรงดันตกคร่อม มากกว่า จะเป็นขา E เช่น วัดค่าได้ 0.649V
- การวัดที่ได้ค่าแรงดันตกคร่อม น้อยกว่า จะเป็นขา C เช่น วัดค่าได้ 0.628V
“ในการวัดสาธิตใช้ทรานซิสเตอร์เบอร์ 2N3904 ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์เบอร์อื่นจะได้ค่าแรงดันตกคร่อมแตกต่างจากนี้”
แต่หลักการยังเหมือนเดิมคือวัดขา B กับขา E ได้แรงดันตกคร่อมมากกว่าแรงดันตกคร่อมขา B กับขาC ที่เป็นเช่นนี้เพราะรอยต่อ PN ระหว่างขา B กับขาE ได้รับการไบแอ๊สมากกว่า
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
ขอบคุณรูปภาพจาก www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก
หนังสืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และวงจร หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
www.123ne.blogspot.com
www.electronicsbasicss.blogspot.com
www.xn--2000-3eo9eb7oc5f0hd.com