มอเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร
มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังกล มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันทั้งความเร็วรอบหรือกำลังงาน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด ตามลักษณะการใช้งาน คือ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ หรือ เอ.ซี. มอเตอร์ (A.C. motor) ย่อมาจาก Alternating Current Motor ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับ ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าคือขดลวดในสเตเตอร์ และส่วนที่ทำหน้าที่ให้พลังงานกลคือตัวหมุนหรือโรเตอร์
โครงสร้างภายใน
โครงสร้างภายในโดยทั่วไปของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
- มอเตอร์ซิงโครนัส (Synchronous Motor) เหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วรอบในการหมุนคงที่และความเร็วรอบย้อนกลับได้
- มอเตอร์อินดักชัน (Induction Motor) หรือมอเตอร์เหนี่ยวนำ นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในงานอุตสาหกรรมและในที่พักอาศัย แทบจะกล่าวได้ว่ามีใช้มากที่สุดเพราะมีขั้นตอนในการรับกระแสไฟฟ้าค่อนข้างง่าย ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิด คือ
- มอเตอร์อินดักชันตัวหมุนกรงกระรอก
- มอเตอร์อินดักชันตัวหมุนพันด้วยขดลวด
- มอเตอร์อินดักชันตัวหมุนแบบเหล็กตัน
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง หรือ ดี.ซี. มอเตอร์ (D.C. motor) ย่อมาจาก Direct Current Motor ใช้กับไฟฟ้ากระแสตรง มีโครงสร้างภายในแตกต่างจากมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหลัก ๆ 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่กับที่ หรือ สเตเตอร์ที่มีขดลวดสนาม (Field Coil) และส่วนที่เคลื่อนที่ หรือโรเตอร์ โดยในส่วนนี้จะประกอบไปด้วยขดลวดอาร์เมเจอร์ (Armature) และแปรงถ่าน (Brush)
โครงสร้างภายใน
โครงสร้างโดยทั่วไปของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงขึ้นอยู่กับการต่อระหว่างขดลวดสนาม (Field Coil) และ ขดลวดอาร์เมเจอร์ (Armature Coil) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้
- Shunt DC Motor เป็นการต่อขดลวดสนามและขดลวดอาร์เมเจอร์แบบขนาน ดังนั้นกระแสะไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดทั้ง 2 จะไม่เท่ากัน มีข้อดีคือ มีแรงบิด Torque ปานกลาง และความเร็วรอบคงที่ นิยมใช้กับมอเตอร์ในเครื่องเจาะ เครื่องกลึง เป็นต้น
- Serie DC Motor เป็นการต่อขดลวดสนามและขดลวดอาร์เมเจอร์แบบอนุกรม ซึ่งกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านขดลวดทั้ง 2 นั้นจะมีค่าเท่ากัน โดยปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลจะขึ้นอยู่กับภาระโหลด ความเร็วของมอเตอร์จะลดลงเมื่อโหลดเพิ่มขึ้น มีข้อดีคือ มีแรงบิด Torque สูง นิยมนำไปใช้กับมอเตอร์ในเครื่องยนต์ มอเตอร์ในงานยกของ มอเตอร์ขับเคลื่อนรถไฟฟ้า เป็นต้น
- Compound Motor เป็นมอเตอร์ที่มีขดลวดสนาม 2 ชุด ชุดที่ 1 ต่อแบบอนุกรมกับขดลวดอาร์เมเจอร์ก่อนและค่อยมาขนานกับขดลวดสนามชุดที่ 2 มีข้อดีคือ มีแรงบิด Torque มากกว่า Shunt DC Motor และมีความคงที่กว่า Serie DC Motor นิยมนำไปใช้กับมอเตอร์ในงานตัดโลหะ มอเตอร์เครื่องกดอัด เป็นต้น
การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า
- สามารถควบคุมความเร็วได้ 2 วิธีคือ แบบเลือกความเร็ว สามารถเลือกได้ว่าต้องการให้มอเตอร์หมุนด้วยความเร็วต่ำหรือความเร็วสูง แบบที่ 2 คือแบบควบคุมให้หมุนเรียงตามลำดับความเร็ว แบบนี้มอเตอร์จะหมุนที่ความเร็วต่ำก่อนเสมอแล้วจึงไปหมุนที่ความเร็วสูง ทำได้โดยการใช้รีเลย์ช่วยในการควบคุม ส่วนการลดความเร็วจากสูงมาต่ำ ต้องหยุดมอเตอร์ก่อนแล้วจึงเริ่มใหม่ที่ความเร็วต่ำ เหมาะสมกับงานที่มีโหลดที่เพลาของมอเตอร์มาก
- ส่วนการควบคุมทิศทางการหมุนนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สวิตช์ต่อใช้กับวงจรกำลังเพื่อเปลี่ยนทิศการหมุน
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
- สามารถควบคุมความเร็วได้โดยการปรับแรงดันที่จ่ายให้มอเตอร์ โดยสามารถปรับได้ไม่เกินค่าแรงดันสูงสุดที่จ่ายให้มอเตอร์ ส่วนการควบคุมแรงบิด ทำได้โดยการควบคุมกระแสที่ผ่านขดลวดอาเมเจอร์และขดลวดสเตเตอร์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมใช้การควบคุมด้วยวงจร Pulse Width Modulator หรือ PWM (ใช้วิธีจ่ายไฟให้แก่มอเตอร์เป็นช่วง ๆ โดยการควบคุมแรงดัน คือการปรับช่วงกว้างของพัลซ์ที่จ่ายให้)
- สำหรับการควบคุมทิศทางการหมุนนั้นสามารถทำได้โดยการสลับขั้วแหล่งจ่ายไฟที่จ่ายให้แก่มอเตอร์ อาจใช้วิธีสลับขั้วด้วยมือ ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์หรือวงจรรีเลย์เข้าไปควบคุม
การใช้งานมอเตอร์ไฟฟ้าในปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีการนำมอเตอร์ไฟฟ้าทั้งแบบกระแสสลับและมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรม ระบบควบคุมอัตโนมัติ งานหุ่นยนต์ รวมไปถึงงานอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่นิยมใช้มากในงานอิเล็กทรอนิกส์และงานหุ่นยนต์ คือ มอเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้แรงดันในย่าน +1.5 ถึง +12V ซึ่งจะมีชุดเฟืองขับแบบต่าง ๆ ประกอบใช้งานอยู่ด้วย