สอนแสดงค่าความชื้นในดินในแอพ Blynk
บทความนี้จะสอนใช้งานบอร์ด ESP 8266 เชื่อมต่อกับโมดูลเซ็นเซอร์ วัดความชื้นในดิน (Soil Moisture Sensor Module) ในแสดงค่าความชื้นในดินผ่านแอพ Blynk และจะใช้เครื่องมือ Slider ในการกำหนดค่าความชื้นในดิน หากความชื้นในดินน้อยกว่าค่าที่หนดจะสั่งให้ LED ติด จะมีวิธีการทำอย่างไรกันนั้น ไปดูกันเลยครับ
Soil Moisture Sensor Module
เป็นเซ็นเซอร์เพื่อการวัดความชื่นในดิน โดยการวัดค่าความต้านทานระหว่างอิเล็กโทรดที่ชุบโลหะอย่างดีเพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น เพิ่มอายุการใช้งานและลดการสึกหรอเนื่องจากความชื้น การอ่านค่าขาอนาล็อก A0 จากเซนเซอร์ค่าที่อ่านได้จะเป็น 1023 คือไม่ความความชื้นเลย และถ้ามีความชื้นค่าก็จะลดลง ทั้งนี้ตัวโมดูลยังมีขาดิจิตอล D0 ให้เราเลือกใช้งานได้อีกตัว เพื่อแค่เราปรับ VR บนโมดูลเพื่อตั้งระดับความชื้น เมื่อความชื้นในดินเกินที่เราตั้งไว้ขาดิจิตอลจะส่งสัญญาณ HIGH ออกมาที่ขาดิจิตอล จึงเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการทำระบบรดน้ำอัตโนมัติ
Specification
- Power supply: 3.3v or 5v
- Output voltage signal: 0~4.2v
- Current: 35mA
- Pin definition:
- Analog output(Blue wire)
- GND(Black wire)
- Power(Red wire)
- Size: 60x20x5mm
- Surface finish:Immersion Gold
อุปกรณ์ที่ต้องใช้
การต่อวงจร
Soil Moisture Sensor ⇒ ESP 8266
A 0 → A0
Vcc → Vin
GND → GND
LED ⇒ ESP 8266
ขา + → D2
ขา – → GND
ขั้นตอนการใช้งานแอพ Blynk
1. เมื่อเข้าแอพ Blynk และทำการ Login เข้ามาเรียบร้อยแล้ว ให้กด New Project จากนั้นทำตามขั้นตอน ดังรูป
2. แอพจะส่ง Token ไปยังอีเมลล์ของเรา หลังจากนั้นกด OK หมายเหตุ “เดี๋ยวเราจะนำ Token นี้ไปใส่ในโค้ด Arduino IDE ของเรา เดี๋ยวผมจะสอนในขั้นตอนท้าย ๆ ครับ”
3. กดตรงเครื่องหมาย บวก ดังรูป
4. จะเจอหน้าต่างแถบเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย ในที่นี้เราจะเลือกเครื่องมือ “Gauge” ดังรูป
5. คลิกเพิ่มเครื่องมืออีกครั้ง และเลือกเป็น “Slider” ดังรูป
6. คลิกที่ตัว Gauge หนึ่งครั้ง จะเจอหน้าต่างให้เซ็ทค่าตาม ดังรูป
7. คลิกที่ตัว Slider หนึ่งครั้ง จะเจอหน้าต่างให้เซ็ทค่าตาม ดังรูป
8. เมื่อเซ็ทค่าครบทุกอันแล้วเราจะได้หน้าตาแอพ ดังรูป
9. คลิกที่ “สามเหลี่ยม” มุมขวาบนไว้รอเชื่อมต่อกับบอร์ดจะได้ ดังรูป
ขั้นตอนในโปรแกรม Arduino IDE
1. ไปที่อีเมลของเรา หาเมลที่ชื่อ Blynk จะเห็น Token ที่ได้มา ดังรูป และทำการคัดลอกไว้
2. ดาวน์โหลดโค้ดที่ผมอัพไว้ให้เมื่อข้างต้น และเปิดไฟล์ขึ้นมา นำ Token ที่ได้ไปวาง ดังรูป และใส่ชื่อ ไวไฟ และรหัสให้เรียบร้อย
3. หลังจากนั้นให้เข้าไปเมนู Tools → Board : “xxxxxxx” → ESP8266 Board (3.0.2) → เลือกรุ่นของบอร์ด
4. ไปที่เมนู Tools อีกครั้ง เลือก Port ที่ NodeMCU ESP8266 เชื่อมต่ออยู่ ในที่นี้เป็น COM8
5. กดอัปโหลดโปรแกรมลงบอร์ด รอจนเสร็จ