1. วิธีการ Create new account เพื่อใช้งาน Blynk เวอร์ชั่นเก่า
  2. DIY “โต๊ะตัดโฟม”จากอลูมิเนียมโปรไฟล์
  3. พาชมร้าน AIC ซุปเปอร์มาร์เก็ตสินค้าวิศวกรรมแห่งแรกในเมืองไทย!!
  4. มินิโปรเจค รถบังคับมือถือ Arduino ควบคุมผ่าน Blynk ทำเล่นเองได้ง่ายๆ
  5. โปรเจค Arduino ประตูสแกนลายนิ้วมือ เวอร์ชั่น 2
  6. รีวิวการใช้งาน Stepper Motor 28BYJ-48 with Arduino UNO
  7. สอนใช้งาน Arduino เซ็นเซอร์ตรวจจับควัน MQ-2 Smoke Sensor
  8. รีวิว สเตปมอเตอร์ Nema 17 17HS08 0.4A
  9. สอนใช้งานบอร์ดคอนโทรลมอเตอร์ L298N ควบคุมมอเตอร์ DC ผ่านแอพ Blynk
  10. การใช้งาน Matrix Keypad 3×4 ใส่ Password สั่งงาน Relay
  11. โปรเจคเครื่องแจ้งเตือนน้ำท่วมผ่านLINE พร้อมระบบสูบน้ำอัตโนมัติ คอนโทรลผ่านแอพ Blynk ได้ด้วย
  12. สาธิตการใช้งาน โมดูลนาฬิกา DS3231
  13. รีวว Motor Speed Controller 12-24 V 240 W 10A
  14. เตรียมเปิดตัวปีหน้า Apple Glasses แว่น AR/VR ตัวแรกของ Apple
  15. รีวิว ชุดควบคุมมอเตอร์ PWM DC Motor Controller 0-60V 60A
  16. รีวิวโมดูล A4988 Stepper Motor Driver
  17. สอนทำ NodeMCU ESP8266/ESP32 pin out active 3.3V to 5V
  18. เปลี่ยนปลั๊กไฟธรรมดาให้เป็น Smart Plug IoT
  19. มินิโปรเจค ตู้สาธิตคลื่นแสดงผลของคลื่นน้ำเวลากระทบชายฝั่ง
  20. มาทำความรู้จักกับ Smart Plug ปลั๊กไฟอัจฉริยะ
  21. รีวิวบอร์ด 3 Axis GRBL 1.1f CNC Controller
  22. โปรเจค DIY เครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติบนมือผ่านแอพพลิเคชั่น Blynk
  23. Smart Home Device 2022
  24. ถนนชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
  25. สอนใช้งาน Mini CNC รุ่น CNC-3018 เบื้องต้น
  26. IIoT กับ 6 อุตสาหกรรมที่มุ่งหน้าสู่รูปแบบดิจิทัล
  27. 5 Use Case ของ Computer Vision ในอุตสาหกรรมการผลิตแห่งปี 2022
  28. รีวิว Mini CNC รุ่น CNC-3018
  29. สอนใช้งาน Servo Tester ไม่ต้องเขียนโปรแกรมก็ใช้งานได้
  30. สอนใช้งาน Mini CNC รุ่น CNC3-3018Pro เบื้องต้น
  31. ย้อนอดีตจากยุคต้นกำเนิดรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อกว่า 140 ปี สู่ รถพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเดินทางระยะไกลรุ่นแรกของโลก “LIGHTYEAR O”
  32. สอนใช้งาน Fingerprint Sensor รุ่น R307 กับ Arduino UNO
  33. รีวิว เครื่องMini CNC รุ่น CNC3-3018Pro
  34. มินิโปรเจค Arduino ทำประตูไฟฟ้าด้วยเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือกับกลอนแม่หล็กไฟฟ้า
  35. สอนใช้งานเซ็นเซอร์วัดความชื้นในดิน (Soil Moisture Sensor Module) ให้แสดงค่าในแอพ Blynk
  36. รีวิวบอร์ดควบคุมความเร็วสเต็ปมอเตอร์ : แบบไม่ต้องเขียนโปรแกรม ควบคุมความเร็วเป็นรอบได้
  37. รีวิว : ชุดเคลื่อนที่ 3 แกน Work Bee CNC
  38. รีวิว : ชุดเคลื่อนที่ 2 แกน ACRO Acrylic KIT Set with Motor
  39. โปรเจค DIY : รถตัดหญ้า ควบคุมบนมือถือผ่าน IoT
  40. รีวิวเครื่องแกะสลักเลเซอร์ VIGO VG-L7 ตอนที่ 2 วิธีการใช้งาน
  41. รีวิวเครื่องแกะสลักเลเซอร์ VIGO VG-L7 ตอนที่ 1 สเปค ข้อดีข้อด้อย
  42. รีวิวเครื่องแกะสลักเลเซอร์ NEJE MASTER 2S 20W ตอนที่ 2 แนะนำใช้งาน
  43. รีวิวเครื่องแกะสลักเลเซอร์ NEJE MASTER 2S 20W ตอนที่ 1 สเปคเครื่อง
  44. สอนใช้งาน Arduino UNO รับสัญญาณ AnalogInput จากตัวต้านทานปรับค่าได้ ปรับความสว่างหลอดไฟ LED และแสดงผลค่า Voltage ผ่านจอ LCD
  45. สอนการใช้งาน Ultrasonic Module HC-SR04 กับ Arduino UNO
  46. สอนใช้ Arduino : ต่อจอแอลซีดี 20×4 ผ่านพอร์ต I2C กับบอร์ด ARDUINO UNO
  47. สอนลงบอร์ด NodeMCU ESP32 กับโปรแกรม Arduino IDE
  48. สอนใช้งานเซ็นเซอร์วัดระดับน้ำฝน Rain/Water Detection Sensor Module กับ Arduino UNO
  49. สอนใช้งานโมดูลเซ็นเซอร์ตรวจจับวัตถุ IR Infrared กับ Arduino UNO
  50. สอนใช้งาน Sensor Water Level ให้แสดงค่าระดับน้ำในแอพ Blynk
  51. สอนควบคุม Servo Motor ด้วยแอพพลิเคชั่น Blynk
  52. รีวิวหุ่นยนต์วาดรูป Robot Drawing ตอนที่ 3 : การใช้งานโปรแกรม Openbuilds Control (ต่อ)
  53. สอนใช้งาน NodeMCU ESP8266 ส่งข้อความแจ้งเตือนผ่าน LINE Notify
  54. โปรเจคเครื่องซักผ้าแตะบัตร (RFID) มีการแจ้งเตือนผ่าน Line และส่งข้อมูลไปยัง Google Sheet
  55. สอนทำ Esp32 CAM เป็น Video Streaming บนแอพ Blynk
  56. สอนทำ WiFi Manager for NodeMCU
  57. รีวิวหุ่นยนต์วาดรูป Robot Drawing ตอนที่ 2 : การใช้งาน Openbuilds Control
  58. รีวิวหุ่นยนต์วาดรูป Robot Drawing ตอนที่ 1 : Setting
  59. Smart Farm โรงเรือนอัจฉริยะ
  60. สอนใช้งาน Arduino Uno ควบคุม Servo Moto รุ่น SG90
  61. การติดตั้ง Library สำหรับโปรแกรม Arduino IDE
  62. สอนการใช้งานบอร์ด Arduino UNO กับ RFID RC522 อ่านคีย์การ์ดควบคุมการเปิด-ปิดไฟ LED
  63. สอนการใช้งาน Arduino UNO กับเซ็นเซอร์ Water Level ควบคุมการเปิด-ปิดไฟ LED และส่งเสียงเตือนผ่าน ฺ
  64. สอนการใช้งาน LDR Module กับบอร์ด Arduino UNO ควบคุมการเปิด-ปิดหลอดไฟ LED
  65. สอนการใช้งาน LCD 16×2 พร้อม I2C Interface กับบอร์ด Arduino UNO
  66. สอนการใช้งาน NodeMCU ESP8266 กับโปรแกรม Arduino IDE
  67. สอนการใช้งาน ควบคุมระบบไฟในอาคาร ผ่านบอร์ด ESP8266 กับ RELAY MODULE 5V 4 CHANNEL ด้วยแอพ BLYNK
  68. การคำนวณค่าตัวต้านทาน เพื่อใช้กับหลอดไฟ LED
  69. Esp8266 & DHT11 To Blynk
  70. Arduino UNO & DHT11 To LCD
  71. มาทำความรู้จักกับ FarmBot หุ่นยนต์ปลูกผักสวนครัว
  72. Gartner เผย 12 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์แห่งอนาคตปี 2022
  73. Arduino UNO Mini Limited Edition
  74. Arduino Nano V.3 บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่จิ๋วแต่แจ๋ว
  75. ทำความรู้จักกับบอร์ด Arduino Mega 2560
  76. Xiaomi เปิดตัวลำโพง Soundbar 3.1 ch พร้อมซับวูฟเฟอร์ไร้สาย ที่ออกมาท้าชนแบรนด์ดังในไทย
  77. เผยสเปค Samsung Galaxy Tab A8 (2021) คาดเปิดตัวเร็ว ๆ นี้
  78. Xiaomi 12 Series เตรียมจับมือกับกล้อง Leica และมาพร้อมกับชิปเซ็ต Snapdragon 898 รุ่นแรกของโลก
  79. ทำความรู้จัก : บอร์ด ไมโครคอนโทรลเลอร์ ARDUINO UNO R3 คืออะไร ใช้งานอะไรได้บ้าง
  80. Arduino IDE คืออะไร มีวิธีการติดตั้งโปรแกรมอย่างไร และการใช้โปรแกรมยังไงกันนะ
  81. มอเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร มีกี่ชนิด ใช้งานอย่างไร
  82. ทรานซิสเตอร์ (Transistor) คืออะไร มีหน้าที่อะไร และสามารถประยุกต์ใช้งานอะไรได้บ้างนะ
  83. Power Supply มีกี่ประเภท ประกอบด้วยอะไรบ้าง
  84. ตัวต้านทาน (resistor) คืออะไร มีหน้าที่อะไร และมีกี่ประเภท
  85. โปรเจค DIY : ชุดรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ ทำเล่นเองได้ง่ายๆ
  86. IC คืออะไร ใช้งานอย่างไร
  87. Photoresistor คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร และนำไปใช้อะไรได้บ้าง
  88. Capacitor คืออะไร
  89. ไดโอด (Diode) คืออะไร มันนำไปใช้ทำอะไรกันนะ?
  90. เปิดตัวระบบ ColorOS 12
  91. Samsung Galaxy Watch 4
  92. Canon เปิดตัว RF5.2mm f/2.8L Dual Fisheye
  93. Hyundai เปิดตัวโดรนแท็กซี่ Hyundaix Uber
  94. Windows 11 เปิดให้ Update แล้ววันนี้
  95. Huawei เปิดตัว Matebook 14s
  96. สิ่งที่ต้องรู้ก่อนติดตั้ง Solar Cell
  97. TCL เปิดตัวแว่นตาอัจฉริยะ Thunderbird
  98. mRNA Vaccine
  99. 10 เทคโนโลยีที่น่าสนใจในปี 2021 จาก MIT
  100. ปัญญาประดิษฐ์ AI
  101. Lithium-Metal Battery อนาคตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

               ย้อนอดีตจากรถยนต์ไฟฟ้า ยานยนต์ที่มาแรง และเป็นที่พูดถึงกันอย่างมาก ณ ขณะนี้ หลายท่านอาจคิดว่ามันเป็นของใหม่ แต่จริงๆ แล้วรถยนต์ไฟฟ้าถือกำเนิดขึ้นมาแล้วกว่า 140 ปีด้วยกัน ว่าแต่ทำไมเพิ่งมาฮิตตอนนี้ แล้วมันเริ่มต้นจากอะไร? จนกระทั่งพัฒนามาสู่รถพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเดินทางระยะไกลรุ่นแรกของโลก

ต้นกำเนิดรถยนต์ไฟฟ้า

ต้นกำเนิดรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่ของที่เพิ่งมี แต่มันถูกคิดค้นขึ้นมาก่อนหน้านี้นับร้อยปีแล้ว โดยประวัติศาสตร์รถยนต์ไฟฟ้าครั้งแรก ซึ่งการเล่าประวัติศาสตร์รถยนต์ไฟฟ้าอย่างง่ายนั้น เราขอแบ่งเป็นยุคสมัยดังนี้

รถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของโลก

รถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของโลก พบเมื่อ ปี ค.ศ. 1881 นาย Gustave Trouve ได้นำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าภายในงานแสดงสินค้านานาชาติ d’Électricité de Paris ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่เป็นเพียงการโชว์เท่านั้น“แต่ยังไม่นับเป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันแรก”

ปี ค.ศ. 1884 Thomas Parker วิศวกรไฟฟ้า ได้สร้างรถยนต์ไฟฟ้าแบบชาร์จแบตเตอร์รี่ได้ ในเมืองวูฟเวอร์แฮมพ์ตัน โดยมีหลักฐานภาพถ่ายของรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้ เป็นหลักฐานด้วย จุดเด่นของรถยนต์ไฟฟ้าคันนี้นั้นคือเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความจุแบตเตอร์รี่สูง และสามารถชาร์จไฟฟ้ากลับเข้าไปได้ “แต่ยังไม่นับเป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันแรก”

รถยนต์ไฟฟ้าคันแรกอย่างแท้จริง

ปี ค.ศ. 1888 Andreas Flocken นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ได้ทำการออกแบบรถยนต์ไฟฟ้าที่มีชื่อว่า Flocken Elektrowagen โดยรถคันนี้ถูกยกให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกของโลกอย่างแท้จริง ซึ่งปัจจุบันยังสามารถพบตัวจริงได้ในพิพิธภัณฑ์ PS.SPEICHER ในเมือง Einbeck ประเทศเยอรมัน

รถยนต์ไฟฟ้าถูกใช้งานจริงครั้งแรก ตอนไหน

แม้รถยนต์ไฟฟ้าจะถูกคิดค้นได้ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่มันถูกใช้งานครั้งแรกจริงๆ ในปี ค.ศ. 1897 ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษและเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมันถูกใช้งานในฐานะ “แท็กซี่”  โดยมันถูกนำเข้ามาใช้งานแทนที่รถม้าแบบเดิม ที่มีมลภาวะจาก “ขี้ม้า” ค่อนข้างสูง

ในช่วงศตวรรษที่ 20 รถยนต์ไฟฟ้าถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยในยุคนั้นรถยนต์ไฟฟ้าถือว่าใช้งานได้ง่ายกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน ในช่วงเวลานั้นมีการบันทึกไว้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าได้ถูกจำหน่ายไปมากกว่า 30,000 คันเลยทีเดียว ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้านั่นคือใช้งานได้ง่ายกว่า และไม่ต้องเปลี่ยนเกียร์ก็สามารถขับได้ อีกทั้งไม่มีเสียงดังแบบเครื่องยนต์เบนซินด้วย

โดยในยุคนั้น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ Anthony Electric, Baker, Columbia, Anderson, Edison, Riker, Milburn, Bailey Electric, และ Detroit Electric โดยในยุคนั้น รถยนต์ไฟฟ้าทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 105.88 กม./ชม.

รถแท็กซี่ไฟฟ้า
โฆษณารถยนต์ไฟฟ้าช่วงปี ค.ศ. 1902 สื่อให้เห็นว่ารถยนต์ไฟฟ้าใช้งานง่าย

จุดจบของรถยนต์ไฟฟ้ายุคแรก

จุดจบของรถยนต์ไฟฟ้ายุคแรก เกิดขึ้นจากการพัฒนารถยนต์เครื่องเบนซินที่ถูกพัฒนาให้ผลิตได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม และมีราคาที่ถูกลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสามารถเติมพลังงานได้รวดเร็วกว่าการชาร์จไฟฟ้าด้วย และจุดจบของรถยนต์ไฟฟ้าในยุคแรกก็มาถึง ด้วยการคิดค้นระบบมอเตอร์สตาร์ทเครื่องยนต์ ทำให้รถยนต์สันดาปสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ง่ายกว่าการสตาร์ทด้วยมือในยุคแรก

ด้วยข้อดีของรถยนต์สันดาปยุคนั้นได้แก่ เติมพลังงานเพื่อเดินทางต่อได้รวดเร็วกว่า อีกทั้งมีราคาที่ถูกกว่า ทำให้ความนิยมในรถยนต์ไฟฟ้าลดลงอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นว่ารถยนต์ที่ได้รับการยอมรับ ใช้งานกันอย่างแพร่หลายทั่วโลกได้กลายเป็นรถสันดาปไป

สู่ รถพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเดินทางระยะไกลรุ่นแรกของโลก “LIGHTYEAR ONE”

ในขณะที่ปัจจุบันเต็มไปด้วยทางเลือกรถไฟฟ้าที่ชาร์จพลังงานจากระบบไฟฟ้าพื้นฐาน และมีผู้ผลิตรถยนต์บางรายพยายามที่จะพัฒนาระบบเซลล์เชื้อเพลิงเพื่อมาเป็นอีกทางเลือกของการเดินทางด้วยพลังงานที่สะอาดไม่พึ่งพาเชื้อเพลิงจากฟอสซิล แต่มีผู้ผลิตรถยนต์ในเนเธอร์แลนด์ที่ชื่อว่า Lightyear มากับทางเลือกใหม่ของรถไฟฟ้าด้วยการนำเสนอ One รถไฟฟ้าที่ชาร์จพลังงานจากแสงอาทิตย์ พร้อมกับระบุว่าเป็นรถพลังงานแสงอาทิตย์เดินทางระยะไกลรุ่นแรกของโลก อีกทั้งยังสามารถชาร์จไฟฟ้าได้อีกต่างหาก

กระทั่งLightyear เผยโฉม “Lightyear 0″ เวอร์ชั่นผลิตจริงของ Lightyear One รถยนต์ไฟฟ้าพลังงานอนันต์จากการนำแสงอาทิตย์มาช่วยเพิ่มระยะทางวิ่ง ซึ่งวิ่งได้นานสูงสุด 7 เดือน ในแบบ Off-grid หรือไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอก ซึ่งส่วนที่แตกต่างจากรถยนต์ EV ค่ายอื่น ๆ ในตลาดนั่นคือแผงโซลาร์เซลล์ประสิทธิภาพสูงขนาด 5 ตารางเมตร (16.4 ฟุต) ที่ติดตั้งอยู่บนกระโปรงหน้ารถและหลังคาที่จะสามารถกักเก็บพลักงานเพื่อจ่ายให้รถยนต์ขับเคลื่อนไปได้ “เพิ่มเติม” ในระยะทาง 43 ไมล์ (ประมาณ 69 กิโลเมตร) ในทุก ๆ วัน

Lightyear 0 ดีไซน์ภายนอก

ไม่ใช่แค่เพียงเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์เท่านั้นที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับ Lightyear 0 เพื่อให้วิ่งได้ระยะทางไกลขึ้น แต่ Lightyear ใช้การดีไซน์มาช่วยขยายระยะทางวิ่ง ตามหลักคิดของ Berlina Aerodynamica โดย Leonardo Fioravanti ที่ออกแบบไว้ตั้งแต่ปี 1967 ทำให้ Lightyear 0 เป็นรถทรงกระสวยหลังคาลาด ท้ายยาว และตัดเฉียงแบบ Kamm Tail รวมถึงการใช้พื้นผิวเรียบลื่น เก็บรายละเอียด เพื่อลดแรงฉุดของกระแสลม จนส่งผลให้ Lightyear 0 มีค่า Cd เพียง 0.19 ซึ่งต่ำสุดเท่าที่รถในเวอร์ชั่นผลิตจำหน่ายจริงจะทำได้

ขณะที่พื้นผิวตัวถังด้านบนในส่วนของฝากระโปรงหน้า หลังคารวมแผงกระจกบานหลัง รวมทั้งหมด 5 ตารางเมตร เป็นแผงโซลาร์เซลล์แบบ Built-in ส่วนเปลือกตัวถังจุดอื่นทำจากวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ เพื่อช่วยให้ Lightyear 0 ที่ยาว 5,083 มม. กว้าง 1,972 มม. และสูง 1,445 มม. มีน้ำหนักตัวเพียง 1,575 กก. ถือว่าเบามากสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า

Lightyear 0 ดีไซน์ภายใน

สำหรับดีไซน์ภายในของ Lightyear 0 รองรับผู้โดยสารได้ 5 ที่นั่ง เน้นสไตล์โมเดิร์น เรียบง่าย แต่แฝงลีลาทั้งการใช้ Texture รวมถึงการใช้วัสดุที่ไม่เบียดเบียนสัตว์เพื่อความยั่งยืน เช่น หนัง Vegan ร่วมกับผ้าไมโครไฟเบอร์คุณภาพสูง สามารถรีไซเคิลได้ และประดับลายไม้จากต้นปาล์ม ติดตั้งจออินโฟเทนเมนต์ ขนาด 10.1 นิ้ว และจอดิจิทัลแสดงภาพแทนกระจกมองข้างอยู่มุมเสา A

Lightyear 0 เครื่องยนต์และสมรรถนะ

ทางด้านขุมพลังของ Lightyear 0 จะติดตั้งมอเตอร์ไฟฟ้า 4 ตัว กระจายแรงบิดไปยังล้อทั้ง 4 ได้อย่างอิสระ จ่ายไฟโดยแบตเตอรี่ขนาดความจุ 60 กิโลวัตต์-ชั่วโมง เร่งจาก 0-100 กม./ชม. ได้ภายในเวลา 10 วินาที ความเร็วสูงสุดทำได้ 160 กม./ชม. ระยะทางวิ่งคาดการณ์ 625 กม. ต่อการชาร์จไฟเต็ม 1 ครั้ง (WLTP)

แต่ถ้าหากวิ่งด้วยความเร็วคงที่ 110 กม./ชม. จะวิ่งได้ไกล 560 กม. หรือถ้าใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เพียว ๆ ก็จะวิ่งได้สูงสุด 70 กม. ที่ความเร็ว 35 กม./ชม. โดยอ้างอิงจากการวิ่งทดสอบในช่วงฤดูใบไม้ผลิ-หน้าร้อนทางตอนใต้ของประเทศสเปน

นอกจากนี้ Lightyear ยังเคลมตัวเลขจากการทดลองวิ่งด้วยความเร็ว 35 กม./วัน ภายใต้สภาวะแดดจัดในโปรตุเกสของ Lightyear 0 ว่าไม่จำเป็นต้องชาร์จไฟเลยตลอดระยะเวลา 7 เดือน ส่วนกรณีที่มีเมฆปกคลุม (ทดสอบในเนเธอแลนด์บ้านเกิด) ก็จะวิ่งได้นานถึง 2 เดือน

Lightyear 0 ราคาจำหน่าย

อย่างไรก็ตาม ถึง Lightyear 0 จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าประหยัดพลังงาน เนื่องจากสามารถนำแสงอาทิตย์มาใช้งานได้ แต่ยังห่างไกลจากคำว่ารถยนต์ราคาประหยัด เพราะมีค่าตัวเริ่มต้นสูงถึง 2.5 แสนยูโร คิดเป็นเงินไทยก็ตกอยู่ราว 9.1 ล้านบาท และจะสามารถเริ่มส่งมอบให้กับผู้ที่สั่งจองได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดย Lightyear ตั้งเป้าผลิตไว้เบื้องต้นเพียง 946 คัน เท่านั้น

Banner Content

0 Comments

Leave a Comment