Photoresistor

ขอบคุณภาพจาก hmong.in.th

ตัวต้านทานที่แปรค่าตามแสง (Light Dependent Resistor : LDR) เป็นอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (Semi-conductor) ใช้วัดความสว่างของปริมาณแสงที่ตกกระทบลงบริเวณฐานรองรับที่ไวต่อแสงที่ผลิตจาก แคดเมียมซัลไฟด์ (CdS)  ซึ่งจะแปลงปริมาณทางแสงที่ตกกระทบเป็นสัญญาณไฟฟ้าด้วยสัญญาณอนาล็อคหรือไมโครคอนโทรลเลอร์

สัญลักษณ์ทางวงจรไฟฟ้า LDR

หลักการทำงาน

หลักการการทำงานของ Photoresistor คือ เป็นตัวต้านทานชนิดหนึ่งที่ค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณแสงที่ตกกระทบลงบนฐานรองรับ โดยระหว่างขั้วไฟฟ้าทั้งสองมีสารกึ่งตัวนำ (บริเวณแคดเมียมซัลไฟด์ Cds) เมื่อสารกึ่งตัวนำไม่ติด ค่าความต้านทานของมันสูงถึงหลายเมกะโอห์ม เมื่อบริเวณนี้สว่างขึ้นทำให้ “ความต้านทานทางไฟฟ้าลดลง ส่งผลให้มีกระแสไฟฟ้าไหลเพิ่มขึ้นในวงจรไฟฟ้า”

ขอบคุณภาพจาก electroexp.com

การตรวจสอบ LDR ด้วยมัลติมิเตอร์

เราสามารถตรวจสอบ photoresistor ด้วยมัลติมิเตอร์ในโหมด “การวัดความต้านทาน” โดยการวัดความต้านทานขององค์ประกอบโดยพื้นที่สว่างและมืด

ตัวอย่างการนำไปใช้งาน

  • ไฟฟ้าข้างทาง
  • เครื่องมือวัดการดูดกลืนแสง
  • ใช้เป็นสวิตซ์แสง (Photo Switch)
  • เป็นเซ็นเซอร์วัดจำนวนผลิตภัณฑ์บนสายพานลำเลียง
  • ฯลฯ

เซ็นเซอร์วัดแสง

การใช้งาน Arduino UNO กับโมดูล LDR เป็นโมดูลเซ็นเซอร์วัดความสว่างความเข้มแสง โดยใช้เซ็นเซอร์ LDR ในการตรวจจับ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มแสงจะทำให้ความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามความเข้มแสง โดยให้สัญญาณ Output ออกมา 2 แบบคือ

  • Analog ระดับความเข้มของแสง ที่วัดได้เป็นค่า 0-1023
  • Digital สัญญาณที่ได้คือ Logic 1 และ Logic 0 โดยหมุนตัว R ปรับค่าได้บนบอร์ดเพื่อตั้งระดับความต้องการของความเข้มแสงว่าจะให้สว่างเท่าใดจึงจะส่งค่าเอาต์พุตออกมา

การใช้งานโมดูล LDR ร่วมกับบอร์ด Arduino

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

  • www.suwitkiravittaya.eng.chula.ac.th
  • www.hmong.in.th/wiki/Photoresistor
  • www.electroexp.com
  • www.spmicrotech.com
Banner Content

0 Comments

Leave a Comment