AIC Tech School > Electronics > อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์
ตัวต้านทาน (resistor)
ตัวต้านทาน (resistor) คืออะไร?
- ตัวต้านทานทำหน้าที่ “ควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าและแรงดันระหว่างสองจุดในวงจร”
- และยังใช้งานอื่นๆ ได้อีก เช่น เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน ตรวจวัดอุณหภูมิสวิตช์เปิดปิดด้วยแสง
ตัวต้านทานมีกี่แบบ
ตัวต้านทานแบ่งตามการใช้งานได้ 3 แบบ
- ตัวต้านทานชนิดค่าคงตัว
- ตัวต้านทานปรับค่าได้
- ตัวต้านทานปรับค่าตามสภาพแวดล้อม
1. ตัวต้านทานชนิดค่าคงตัว (fixed resistor) มีค่าความต้านทานคงที่ มีให้เลือกหลายวัสดุและกำลังวัตต์ โดยขนาดตัวต้านทานจะยึดค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดที่ต้านได้เป็นเกณฑ์ มีตั้งแต่ 0.25-100 วัตต์ โดยใช้รหัสแถบสีเป็นตัวบอกค่า
สัญลักษณ์
“ตัวต้านทานชนิดค่าคงตัว แบ่งตามชนิดวัสดุเป็น 5 แบบ”
• แบบคาร์บอนผสม
• แบบฟิล์มโลหะออกไซด์
• แบบฟิล์มคาร์บอน
• แบบลวดพัน
• แบบฟิล์มโลหะ
ตัวอย่างการอ่านค่าตัวต้านทาน
จากภาพ ตัวต้านทานมีค่าความต้านทานเท่าใด
จากการอ่านค่าแถบสีของตัวต้านทาน จะได้ว่า
ส้ม ส้ม นํ้าตาล ทอง = 10 ×102 Ω ±5%
= 1.0 kΩ ± 50 Ω
= 0.95 kΩ – 1.05 kΩ
จะได้ว่า ตัวต้านทานในภาพมีค่าความต้านทานอยู่ในช่วง 0.95 กิโลโอห์ม ถึง 1.05 กิโลโอห์ม
จากภาพ ตัวต้านทานมีค่าความต้านทานเท่าใด
จากการอ่านค่าแถบสีของตัวต้านทาน จะได้ว่า
นํ้าตาล แดง แดง ส้ม ส้ม = 122 × 103 Ω ± 3%
= 122 kΩ ± 3.66 kΩ
= 118.34 kΩ – 125.66 kΩ
จะได้ว่า ตัวต้านทานในภาพมีค่าความต้านทานอยู่ในช่วง 118.34 กิโลโอห์ม ถึง 125.66 กิโลโอห์ม
การอ่านค่าความต้านทานจากแถบสีบนตัวต้านทานชนิดค่าคงตัว ทำได้โดยอ่านจากแถบสีที่ระบุบนตัวต้านทาน ซึ่งสามารถเทียบกับตารางแสดงค่าของแถบสีบนตัวต้านทาน โดยทั่วไปแถบสีบนตัวต้านทานจะมี 4 แถบ โดยแต่ละแถบสีมีความหมาย ดังนี้
ตารางค่าของแถบสีบนตัวต้านทาน
2. ตัวต้านทานปรับค่าได้ (variable resistor) สามารถเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ตลอดเวลา
- ตัวต้านทานชนิดแปรค่าได้มีทั้งที่ใช้กับกระแสไฟฟ้าต่ำ (ทำจากคาร์บอนหรือแกรไฟต์) เรียกว่า โพเทนชิโอมิเตอร์ (potentiometer) หรือ โวลุม (volume)
- และที่ใช้กับกระแสไฟฟ้าสูง (ทำจากลวดความต้านทาน) ซึ่งเรียกว่า รีโอสตัต (rheostat)
สัญลักษณ์
โพเทนชิโอมิเตอร์ใช้ควบคุมแรงดันในวงจรและใช้ปรับสัญญาณต่าง ๆ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ความดังของเสียง ความทุ้ม-แหลม ความสว่าง โดยการปรับปุ่มหมุนรอบแกนหมุนหน้าสัมผัสจะเปลี่ยนตำแหน่งสัมผัสทำให้ความต้านทานเปลี่ยนไป ซึ่งส่งผลให้กระแสไฟฟ้าในวงจรเปลี่ยนไป และกระแสไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปทำให้แรงดันไฟฟ้าและระดับของสัญญาณเปลี่ยนไป
ตัวอย่างการต่อโพเทนชิโอมิเตอร์ในวงจรเพื่อควบคุมความสว่างของหลอดไฟ
3. ตัวต้านทานชนิดพิเศษ เป็นตัวต้านทานที่มีสมบัติและการใช้งานต่างจากตัวต้านทานทั่วไป ตัวอย่างของตัวต้านทานชนิดพิเศษ ได้แก่ แอลดีอาร์ เทอร์มิสเตอร์ และวาริสเตอร์หรือ วีดีอาร์ เป็นต้น
แอลดีอาร์ (light dependent resistor; LDR) เป็นตัวต้านทานที่ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามความเข้มแสงที่ตกกระทบ ทำจากสารกึ่งตัวนำ บางครั้งเรียกแอลดีอาร์ว่า โฟโตรีซิสเตอร์ (photo resistor) โดยมีความต้านทานสูงในที่มืดแต่มีความต้านทานต่ำในที่สว่าง แอลดีอาร์สามารถนำไปใช้เป็นสวิตช์เปิด-ปิดด้วยแสง เพื่อควบคุมการทำงานของวงจรอิเล็กทรอนิกส์
สัญลักษณ์
ศึกษา LDR เพิ่มเติมได้จากลิงค์ https://www.ai-corporation.net/2021/11/08/photoresistor/
เทอร์มิสเตอร์แบบพีทีซี (positive temperature coefficient; PTC) ส่วนใหญ่ทำจากเซรามิกปนด้วยแบเรียมไททาเนต เทอร์มิสเตอร์แบบพีทีซี มีค่าความต้านทานต่ำเมื่ออุณหภูมิต่ำแต่มีความต้านทานสูงเมื่ออุณหภูมิสูง ใช้ตรวจสอบความร้อนหรือทำให้เกิดความร้อนเพื่อควบคุมการทำงานของวงจร เช่น ทำให้เกิดความร้อนเพื่อควบคุมการจ่ายแรงดันไฟฟ้า
สัญลักษณ์
วาริสเตอร์หรือวีดีอาร์ (voltage dependence resistor; VDR) เป็นตัวต้านทานที่ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามค่าแรงดันไฟฟ้า ใช้ป้องกันวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไม่ให้เกิดความเสียหายจากไฟกระชาก (transient surges) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองภายในวงจรหรือส่งผ่านเข้าสู่วงจรจากแหล่งกำเนิดภายนอก โดยวาริสเตอร์จะกันกระแสไฟฟ้าส่วนเกินไม่ให้ผ่านเข้าสู่วงจรแต่ปล่อยให้ผ่านเข้าสู่สายดินลงสู่ดินไป